วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องแจ๋ว สุขอนามัย กับโรคท้องร่วง

เรื่องแจ๋ว สุขอนามัย กับโรคท้องร่วง




เวลา : 15 นาที

โดย : กลุ่มไร้แก้นสาร 4/1 สาระ สุขศึกษา(เปลี่ยนแปลงจากอันเก่านะค่ะ)

สถานที่ถ่ายทำ

-บ้าน

-ห้องน้ำ

-ร้านส้มตำ

-โรงพยาบาล (เป็นการจำลองสถานที่นะค่ะ)

บท

-ยัยแจ๋ว

-คุณหญิง

-คุณหนู

-คุณหมอ

-เพื่อนยัยแจ๋ว



สตอรี่บอร์ด



(1) แนะนำตัวละคร


-นิสัย


-คาเรคเตอร์

 (2) แจ๋วทานของที่เหลือจากคุณหญิงและคุณหนู


(3) แจ๋วกินส้มตำกับเพื่อนที่ร้านส้มตำ อย่างซกมก


(4) แจ๋วอึไม่หยุด คุณหญิง กับคุณหนูหามแจ๋วส่งโรงพยาบาล


(5) คุณหมออธิบายโรคท้องร่วง ให้คุณหญิงคุณหนู และแจ๋วฟัง


(6) แจ๋วกลับบ้านกลายเป็นแจ๋วคนใหม่ และมีสุขอนามัยที่ดี









บทละคร



ณ บ้านหลังหนึ่ง

~ น้อยใจตัวเองเหลืออนาถๆๆๆ ตกเป็นทาสความรักมันหนักสมองๆๆๆ~

ยัยแจ๋วที่กำลังทำความสะอาดเช็ด ถู เช็ด ถู ก็ร้องเพลงไปด้วยอย่างอารมณ์ดี

“ยัยแจ๋ว ยัยแจ๋ว ตั้งโต๊ะอาหารเช้าให้ฉันกับหญิงแม่รึยัง”คุณหนูเดินมากับคุณหญิงถามยัยแจ๋ว

“เสร็จแล้วค่า คุณหญิง กับคุณหนูเชิญรับประทานได้เลยค่ะ เดียวแจ๋วตักข้าวให้ค่ะ”



หลังจากที่คุณหญิงและคุณหนูทานเสร็จแล้ว ยัยแจ๋วก้อยกจานอาหารที่เหลือมาห้องครัวเพื่อที่จะล้างทำความสะอาด

“จะทิ้งก็เสียดาย อาหารดีๆทั้งนั้นเลย ยังเหลือเต็มจานอีกด้วย ลาภปากยัยแจ๋วแล้วคราวนี้”

ยัยแจ๋วก็ทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อยและอย่างซกมก

“สปาตี้ อร่อยจังเลย ใช้ซ้อมไม่ทันใจใช้มือกระซวกเลยดีกว่า มันก็เป็นเส้นๆ เหมือนส้มตำแหละน่า” ยัยแจ๋วทานสปาเก็ตตี้ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง

“อุ้ยๆๆ! ลืมล้างมืออะเมื่อกี้พึ่งจับผ้าขี้ริ้วมาด้วย เดียวก่อนนะ พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ อิอิ วันนี้เป็นอาทิตย์ เชื้อโรคหยุดทำการ กินต่อดีกว่า” หลังจากนับวันเสร็จ ยัยแจ๋วก็กินต่ออย่างสบายใจ

~กริ้งๆๆๆๆๆๆ~ (โปรดฟังเป็นเสียงโทรศัพท์(มือถือ))


‘ฮัลโล๊! ว่าไงจ้า เพื่อน คนกำลังกินอย่างมีความสุขอยู่เลย’


‘ห่ะ จะชวนฉันไปกินส้มตำเหรอ’


‘ได้ๆ จะไปเดียวนี้แหละ ของฟรีใครไม่ชอบก้อบ้าแล้ว’


‘เดียวเจอกันนะ’

“ลาภปากยัยแจ๋วอีกแย้ววววว



ณ ร้านส้มตำ

“ยัยแจ๋วมาเร็ว นี้ฉันสั่งพิเศษให้แกเลยนะ แบบซี้ดซ๊าดดซู่ซ่าไง”

“อย่างนี้สิ แจ๋วชอบ”

ยัยแจ๋วกับเพื่อน ก็ใช้มือเปิบส้มตำกันอย่างเอร็ดอร่อย(ซกมกจริงๆ) หยิบจานนู้นบาง จานนี้บาง จนอิ่ม

“ฉันอิ่มจะเลยอะแก”

“ฉันก็อิ่มเหมือนกัน ฉันกลับบ้านก่อนนะ เดียวจะโดนคุณนายดุ”

“อืม”



ที่บ้าน

“หญิงแม่ค่ะ เห็นยัยแจ๋วบ้างรึป่าวค่ะ นี้ก็เย็นแล้วนะค่ะ ยัยแจ๋วยังไม่ได้จัดโต๊ะอาหารเลยค่ะ”

“นั้นสิ หายไปไหนนะ ลองไปตามหาดูสิคุณลูก ถ้าเจอตัวนะ หญิงแม่จะตัดเงินเดือนซะให้เข็ด”



จริงๆแล้วยัยแจ๋วไม่ได้ไปไหนหรอก แตกำลัง......

ณ ที่ห้องน้ำ

ปุ๊ดดดด~ แปร๊ดดดดด~ ป๊าดดดดดด~

จ๋อมๆๆ พรวดดด (ซาด์วเอ็ฟเฟ็คเต็มที่)

“อึ๊บบบบบบ อ่า~” ยัยแจ๋ว (โปรดอ่านให้เป็นอารมณ์คนเบ่งอึ)

พรวดดดด~~ (ลักษณะมาเป็นน้ำๆ)

ยัยแจ๋วเข้าๆออกๆ ห้องน้ำมาประมาณ6-7รอบละ จนไม่แรงจะเบ่ง แม้แรงจะเดินยังไม่มีเลย เป็นลมคาคอหานส้วมไปแล้ว(ซักโครกก้อยังไม่ได้กด)



“คุณหญิงแม่ค่า หญิงลูกว่า เราลองไปหาที่ห้องน้ำดูดีมั๊ยค่ะ”

“เป็นความคิดที่ดีค่ะ”

พอคุณหญิงเปิดประตูห้องน้ำเข้าไปดู ก็เห็นยัยแจ๋วที่ตอนนี้อยู่ในสภาพนอนซบคอหานส้วม

“ว๊าย !! ยัยแจ๋ว เธอเป็ยอะไรเนี้ย” คุณหญิงถาม

“คุณหญิงแม่ค่า ถ้าหญิงแม่อยากรู้ก็ลองดูในซักโครกสิค่ะ หลักฐานวากอารยธรรมยังอยู่เลย ลอยเต็มคอหานเลย”

“คุณหญิงขา~ ช่วยแจ๋วด้วย แจ๋วม่ายหวายแล้วววว อึ๊ดดดด~”

“ว๊าย!! เธอจะแบ่งทำไมเนี้ย แล้วก็ได้เลอะเทอะกันหมดหรอก”คุณหญิงบอก

“จะเอาไงกับยัยแจ๋วดีค่ะคุณแม่”

“ลักษณะนี้คงต้องช่วยกันหามไปส่งโรงพยาบาลนะสิ”

คุณหญิงและคุณหนูก้อช่วยกันหามหัว หามท้าย พาไปส่งโรงพยาบาล



ยัยแจ๋วต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลา1อาทิตย์ถึงจะกลับบ้านได้

พบหมอ

“ท้องร่วงมี2ชนิดนะค่ะ มีแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง แต่ที่คุณแจ๋วเป็นคือแบบเฉียบพลัน เพราะจะมีอาการเป็นระยะสั้นๆ ไม่เกิน2สัปดาห์ค่ะ สาเหตุนะค่ะเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทรีเรีย เข้าร่าวกายเราโดยผ่านการบริโภค วิธีป้องกันก็ไม่มีอะไรยากหรอกค่ะ แค่รักษาสุขอนามัยในการบริโภค ล้างมือให้สะอาดเสมอ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ไม่ควรรับประทานอาหารที่เหลือค้างหรือปรุงทิ้งไว้นะค่ะ”

คุณหมออธิบายให้คุณหญิง คุณหนู และยัยแจ๋วฟัง

“เห็นมั๊ยยัยแจ๋ว เธอลาภปาก กินอะไรไม่ดูเลย”คุณหญิงหันไปดุยัยแจ๋ว”

“ยังดีนะค่ะที่คุณแจ๋วไม่ได้ทานยาหยุดถ่ายเข้าไป เพราะมันจะทำให้ลำไส้ทำงานได้ช้าลง แบคทรีเรียเจริญเติบโตแล้วเข้าสู่กระแสเลือด เป็ยอันตรายมาก”

“ยังไงพวกเราต้องขอขอบคุณคุณหมอมากนะค่ะ”คุณหนูพูด

“ไปยัยแจ๋ว หายแล้วก็กลับบ้านได้แล้วแล้ว”



พอยัยแจ๋วกลับบ้านมายัยแจ๋วก้อเป็ยแจ๋วคนใหม่ ไฉไลกว่าเดิม รักษาความสะอาดสุดๆ

“แจ๋วอนามัย เข็ดแล้วกับท้องร่วง”

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทรัพยากรป่าไม้


ทรัพยากรป่าไม้




อย่างป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า



ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย





ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

2. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)



ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)



ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท นี้ ได้แก่



1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)



ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้





1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)



เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย





1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)

เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ

1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)

ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา ได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น

2. ป่าสนเขา (Pine Forest)



ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น





3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)



บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอลุง จังหวัดจันทบุรี



พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น





4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)



ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกัน





ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ



5. ป่าชายหาด (Beach Forest)



เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น



ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)



ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่



1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)



ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น







2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)



หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ



3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)



ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือ ติ้วและแต้ว











ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้





หย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.



ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)



ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ



1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น



2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล



3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ



4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ



ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)



1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี



2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง



3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนได้ศึกษาหาความรู้



4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย



5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน



สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย



1.การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น



2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน

เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป



3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก

เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร



4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่

ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน



5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ

เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง



6. ไฟไหม้ป่า

มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก



7. การทำเหมืองแร่

แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง ถนน หนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า







การอนุรักษ์ป่าไม้



ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ ประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้

1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้

2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ

3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น

4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม

5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

นักป่าไม้

การป่าไม้ในเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



การป่าไม้ในเมือง (urban forestry) หมายถึงการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ (trees) ทั้งหลายที่ขึ้นอยู่ในเขตเมืองเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนุบสนุนบทบาทของต้นไม้ในฐานะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นักการป่าไม้ในเมืองทำหน้าที่ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ใหการสนับสนุนการอนุรักษ์ต้นไม้และป่า ส่งเสริมให้มีการวิจัยและแสดงให้สาธารณชนเล็งเป็นคุณประโยชน์ของต้นไม้ที่มีอยู่มากมายแก่มนุษย์ การป่าไม้ในเมืองปฏิบัติโดยรุกขกร (arborist) ของเทศบาลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโดยรุกขกรภาคเอกชน รวมทั้งรุกขกรสาธารณูปโภค (utility arborists) นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรุกขกรรมหรือการป่าไม้ในเมืองอีกหลายฝ่ายได้แก่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง ที่ปรึกษา นักการศึกษา นักวิจัยและนักรณรงค์ในชุมชน

ความท้าทายของการป่าไม้ในเมือง


การป่าไม้ในเมืองเป็นวิชาชีพภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปลูกต้นไม้ใหญ่ การดูแลและการปกปักษ์รักษา รวมทั้งการจัดการโดยรวมในฐานะที่ต้นไม้ใหญ่ในเมืองเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของชาติ สภาพแวดล้อมในชุมชนเมืองมีส่วนท้าทายทางรุกขกรรมด้วยข้อจำกัดของเนื้อที่สำหรับระบบรากและเนื้อที่สำหรับการแผ่กิ่งก้านสาขา คุณภาพของดินที่เลว น้ำและปริมาณของแสงสว่างที่มีจำกัด ความร้อน มลพิษ ความเสียหายที่จะมีต่อต้นไม้ทั้งทางกลและสารเคมี รวมทั้งอันตรายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีพของต้นไม้อีกนานับชนิด



ความท้าทายในด้านการจัดการยังรวมไปถึงการดูแลรักษาตัวต้นไม้ใหญ่และบริเวณที่ปลูกจะต้องมีการวางระบบระเบียนต้นไม้ จัดการให้ต้นไม้เกิดประโย ชน์สูงสุด ลดค่าใช้จ่ายให้ต่ำสุด ประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ประชาชนให้การสนับสนุนและร่วมสร้างกองทุน ช่วยกันออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติหรือนโยบายส่งเสริมให้มีการปลูกและดูแลต้นไม้ใกญ่ทั้งในที่สาธารณะและที่ดินเอกชน



 ประโยชน์ของการป่าไม้ในเมือง

คุณประโยชน์ของต้นไม้ใหญ่ในเมืองนั้นมีมากมายซึ่งรวมถึงความสวยงาม การลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (urban heat island) การลดปริมาณการระบายน้ำฝนของเมือง การลดมลพิษทางอากาศ การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานด้วยการเพิ่มเงาต้นไม้กำบังอาคารให้มากขึ้น การเพิ่มมูลค่าทางราคาแก่อสังหาริมทรัพย์ ช่วยเพิ่มที่พักพิงแก่สัตว์ต่างๆ ตลอดการช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยรวมให้แก่เมืองได้มาก



 คุณประโยชน์ด้านสุนทรียภาพ

ต้นไม้ใหญ่ให้สีสัน ผิวสัมผัสและความเปรียบต่างที่ทำให้สิ่งแข็งที่เป็นรูปเหลี่ยมทรงเรขาคณิตในภูมิทัศน์เมืองให้แลดูอ่อนนุ่ม ต้นไม้ใหญ่สามารถประกอบกันเป็นกรอบช่องมองวิวที่งดงามและอาจเป็นฉากบังวิวหรือสิ่งไม่น่าดูได้ด้วย ดอก สี เปลือก ลำต้น โครงสร้างของกิ่งก้านสาขาที่สง่างามสามารถกระตุ้นให้ผู้มองเกิดความปีติและน่าสนใจ การจัดวางต้นไม้อย่างมีแบบแผนจะช่วยส่งเสริมสัดส่วนของงานสถาปัตยกรรมและเสริมขนาดส่วนของเนื้อที่ใช้สอยภายนอกอาคารให้ดีขึ้น



 สังคม จิตวิทยา นันทนาการ สัตว์พักพิง

การมีต้นไม้อยู่ร่วมในสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดความเครียดแก่มนุษย์จากการทำงานประจำวันได้ เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าต้นไม้ให้คุณประโยชน์แก่สุขภาพและจิตใจแก่ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเมือง ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวอื่นๆ ในชุมชนเมืองคือสถานที่ที่มนุษย์ใช้เป็นที่พบปะสังสรรทางสังคมและเพื่อการพักผ่อน และก็เช่นเดียวกันการออกแบบจัดวางที่ดีและการมีส่วนร่วมของประชาชนมีส่วนอย่างมากในผลสำเร็จ



ต้นไม้ใหญ่ในเมืองเป็นอาศัยพักพิงสำหรับนกทำรังกกไข่และเป็นที่อาศัยขยายพันธุ์และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์เมืองอีกหลายขนิด มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รวมตัวเป็นชมรมศึกษาเฝ้าดู ให้อาหาร ถ่ายภาพ และเขียนภาพต้นไม้ใหญ่และสัตว์ที่มีประจำตามต้นไม้ใหญ่ในชุมชน ต้นไม้ใหญ่ในเมืองและสัตว์ประจำถิ่นเมืองได้อาศัยพึงพาซึ่งกันและกันมายานจนอยู่ในสภาวะสมดุล



 คุณประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์

คุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจของต้นไม้ใหญ่ในเมืองได้รับการยอมรับมานานแล้ว แต่คุณประโยชน์ดังกล่าวเพิ่งจะได้รับการแจงนับเชิงปริมาณเมื่อเร็วๆ นี้เอง การแจงประโยชน์เชิงปริมาณของต้นไม้ใหญ่ในเมืองช่วยใหสาธารณชนชั่งใจและตัดสินใจให้ความเห็นชอบในด้านค่าใช้จ่ายหรือยอมให้จัดตั้งงบประมาณเพื่อการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในชุมชนเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในแง่เศรษฐกิจได้แก่การปลูกต้นไม้ใหญ่ประเภทผลัดใบที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอาคาร เงาของทรงพุ่มจะบังความร้อนจากแสงแดดที่ร้อนจัดในฤดูร้อน และเมื่อถึงฤดูหนาวต้นไม้ที่ทิ้งใบทั้งหมดจะปล่อยให้แสดงแดดทลุมาประทะผนังให้ความอบอุ่นแก่อาคารคิดเป็นเงินค่าประหยัดพลังงานได้มากมาย นอกจากนี้กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ ยังได้รายงานผลการวิจัยว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองมีส่วนช่วยในธุรกิจเฟื่องฟูเนื่องจากคนจะใช้เวลาในการเดินจับจ่ายในมอลล์นานขึ้น อาคารอพาร์ตเมนต์ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่จะปล่อยเช่าได้หมดเร้วกว่าอพาร์ตเมนต์ที่แห้งแล้งปราศจากต้นไม้ นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้เช่าอยู่นานขึ้น มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่ร่มครึ้มสวยงามด้วยต้นไม้สูงกว่าที่แห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบว่าต้นไม้ใหญ่ยังมีส่วนช่วยให้นักธุรกิจตัดสินใจเข้ามาทำธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในโครงการใหม่ได้เร็วขึ้น ผลกระทบทางกายภาพของต้นไม้ใหญ่อันได้แก่การให้ร่มเงา การควบคุมความชื้น การควบคุมทิศทางและความเร็วลม การควบคุมการชะล้างพังทลาย การให้ความเย็นจากการคายน้ำ การบรรเทาเสียงรบกวนและการบังสายตา การควบคุมการจราจร การดูดซับมลพิษ รวมทั้งการควบคุมหรือบรรเทาฝน ฯลฯ ผลกระทบต่างๆ ดังกล่าวนี้สามารถนับเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ทั้งสิ้น



การลดมลพิษในอากาศ

เมืองต่างๆ ในโลกกำลังดิ้นรนและพยายามอย่างมากที่จะทำให้อากาศในเมืองของตนมีคุณภาพได้มาตรฐาน ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามบทบาทและขีดความสามารถของต้นไม้ใหญ่ที่จะช่วยปัญหาเหล่านี้ได้ มลพิษที่เป็นอันตรายมากในบรรยากาศของเมืองได้แก่โอโซน ไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ซัลฟูริกออกไซด์ (SOX) และอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นพิษ กาซโอโซนที่ระดับพื้นดินหรือหมอกควัน (smog) เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่าง Nox และสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยไว (volatile organic compounds -VOCs) เมื่อถูกแสงแดด นอกจากนี้ความร้อนที่เพิ่มยังช่วยเร่งปฏิกิริยานี้ให้เกิดเร็วขึ้น การปล่อยไอเสียของรถยนต์ ไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอจากน้ำมันเบนซินและสารทำละลายเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งกำเนิดหลักของ NOX และ VOCs อนุภาคมลพิษหรืออนุภาคฝุ่น (PM10 และ PM25) เกิดจากสารแข็งหรือหยดของเหลวที่มีขนาดเล็กมากที่อยูในอากาศที่เราหายใจเข้าไปและตกค้างอยู่ตามเนื้อเยื่อในปอด อนุภาคเหล่านี้สร้างปัญหาด้านสุขภาพกี่ยวกับทางเดินหายใจแก่เรามากที่สุด อนุภาคมลพิษเริ่มจากควันไอเสียเครื่องยนต์เบนซินหรือเขม่าที่ออกจาเครื่องยนต์ดีเซล อนุภาคเหล่านี้เองที่สร้างปัญหาร้ายแรงแก่ผู้ที่เป็นโรคปอดอยู่แล้วทั้งยังเป็นต้นเหตุของโรคแก่ผู้ที่สูดอนุภาคเหล่านี้เข้าไปมาก จึงนับเป็นภัยต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนทั่วไป ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวนี้สามารถลดได้มากด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อดูดซับมลพิษในอากาศ ดักจับอนุภาคและปลดปล่อยออกซิเจนช่วยให้บรรยากาศดีขึ้นได้มาก



ด้วยการปลูกป่าในเมืองด้วยต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง งามและมีจำนวนมากพอจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของอากาศเมืองได้อย่างชัดเจน ต้นไม้ใหญ่สามารถลดอุณหภูมิและลด “ปรากฏการณ์เกาะความร้อน” ที่เกิดในเมืองใหญ่ การช่วยลดอุณหภูมิของบรรยากาศในเมืองลงไม่เป็นเพียงการช่วยประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นการช่วยให้คุณภาพของอากาศในเมืองดีขึ้นจากการเกิดโอโซนที่น้อยลงเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำลง



ในขณะที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น การเกิดโอโซนก็เพิ่มขึ้น

ป่าไม้ในเมืองที่งามและสมบูรณ์แข็งแรงจะลดอุณหภูมิซึ่งเป็นการลดการเกิดโอโซน

ต้นไม้ให้ร่มเงานขนาดใหญ่สามารถลดอุณหภูมิรวมๆ ภายใต้ร่มเงาได้ระหว่าง 3-50C

การลดอุณหภูมิสูงสุดตอนเที่ยงวันที่มีผลมาจากต้นไม้มีค่าระหว่าง 0.04 °C ถึง 0.2 °C ต่อพื้นที่ 1% ของการแผ่พุ่มใบ

ผลการวิจัยของเขตซาคราเมนโตในแคลิฟอร์เนียปรากฏผลว่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ในเมืองเพิ่มอีกเท่าตัวคือรวมได้ 5 ล้านต้นจะสามารถช่วยลดอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนได้ถึง 3 °C และการลดอุณหภูมิในระดับนี้สามารถลดโอโซนลงได้ 7% และลดวันที่มีหมอกควันลงได้ 50%

การลดอุณหภูมิเป็นการลดการปลดปล่อยไอเสียในลานจอดรถได้มาก การลดอุณหภูมิลานจอดรดด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาสามารถลดการระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิงของรถที่จอดใต้ร่มไม้ได้มาก ลานจอดรถที่ไม่มีร่มเงาเทียบได้กับ “เกาะความร้อนขนาดเล็ก” ที่อุณหภูมิในลานจอดจะสูงกว่าบริเวณอื่นโดยรอบ ทรงพุ่มของต้นไม้สามารถลดอุณหภูมิในบริเวณลานลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่จะออกมาจากปลายท่อไอเสียก็จริง แต่จากการศึกษาพบว่าไฮโดรคาร์บอนระเหยออกมาจากระบบส่งจ่ายน้ำมันที่มีอยู่ในระบบเครื่องยนต์ในขณะตากแดดที่ร้อนจัดมากถึง 16% การระเหยแบบนี้ประกอบกับการระเหยจาการติดเครื่องยนต์ใน 2-3 นาทีแรกมีผลอย่างมากต่ออากาศระดับจุลภาคในบริเวณนั้น ดังนั้น ถ้ารถจอดในที่ร่มในลานจอด การระเหยและการปลดปล่อยสารไฮโดรคาร์บอนจะลดลงได้มาก



รถที่จอดในลานจอดที่ร่ม 50% จะปล่อยน้ำมันเบนซินระเหยน้อยกว่า 8% ของรถที่จอดในที่จอดที่มีที่ร่ม 8%

สืบเนื่องจากคุณประโยชน์ในด้านการลดอุณหภูมิของลานจอดรถด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มที่ทำให้การระเหยของน้ำมันลดลง เมืองเดวิส แคลิฟอร์เนียจึงตราข้อบัญญัติให้ลานจอดรถทุกแห่งต้องมีร่มไม้คลุมไม่น้อยกว่า 50%

ติดเครื่องรถในขณะเครื่องเย็น

องค์ประกอบส่วนระเหยได้ของยางมะตอยที่ใช้ลาดผิวพื้นลานจะระเหยน้อยในลานจอดรถหรือที่จอดริมถนนที่มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ร่มเงาไม่เพียงแต่จะลดการปลดปล่อยสารไฮโดรคาร์บอนแต่ยังช่วยลดการยือหดจากอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นสลับกับซ้ำซากทำให้อายุการใช้งานลดลงมากด้วย การดูแลรักษาที่น้อยลงช่วยลดไอระเหยของยางมะตอยที่ต้องลาดซ่อมบ่อยๆ รวมทั้งการปลดปล่อยไอเสียของเครื่องกลหนักที่ใช้ในการนี้ หลักการเดียวกันนี้สามารถใช้กับหลังคาที่ทาด้วยสารยางมะตอย (ฟลิ้นต์โค้ต) ที่คลุมด้วยร่มไม้ใหญ่



 การขจัดมลพิษที่ได้ผล

ต้นไม้ใหญ่สามารถขจัดมลพิษออกจากบรรยากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ปากใบ (Stomata) ซึ่งเป็นรูที่มีอยู่ทั่วไปที่ด้านใต้ของใบไม้ดูดซับก๊าซมลพิษเข้าไปและละลายรวมไปกับน้ำที่มีอยู่ในใบ ต้นไม้บางชนิดอาจอ่อนไหวต่อก๊าซพิษบางชนืด ซึ่งอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตบ้าง การพิจารณาคัดเลือกชนิดของพรรณไม้ที่สามารถดูดซับก๊าซพิษบางชนิดได้ดีกว่าจึงเป็นสิ่งจำเป็น



การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ได้ทำไปทั่วย่านที่เป็นเขตปกครองของนครชิคาโกอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2534 พบว่าต้นไม้ใหญ่สามารถขจัดคาร์บอนโมนอกไซด์ (CO) ได้ 93 ตัน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ได้ 17 ตัน ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ได้ 98 ตันและโอโซน (O3) ได้มากถึง 210 ตันต่อปี



การเก็บกักธาตุคาร์บอน (Carbon sequestration)

ในบางครั้ง ผู้จัดการป่าไม้ในเมืองจะให้ความสำคัญต่อปริมาณของธาตุคาร์บอนที่ถูกดึงออกจากบรรยากาศเข้าไปเก็บกักไว้ในป่าในรูปของเนื้อไม้โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มให้เท่ากับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปลดปล่อยจากการใช้เครื่องจักกลในการดูแลจัดการป้าไม้ในเมืองที่จะต้องใช้เชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าที่มีต้นตอจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์



 การดักจับอนุภาคมลพิษบางชนิด

นอกจากการดูดซับก๊าซพิษบางชนิดแล้วต้นไม้ใหญ่ยังทำหน้าที่เป็นตัวกรองและดักจับอนุภาคที่เป็นอันตรายบางชนิดได้ด้วย อนุภาคจะถูกจับโดยผิวของต้นไม้และผิวของพุ่มใบ อนุภาคเหล่านี้จะเกาะติดตามผิวของต้นไม้ชั่วคราวและจะถูกชะล้างโดยน้ำฝนหรือถูกพัดปลิวออกไปโดยลมที่แรง หรือตกสู่พื้นพร้อมกับการร่วงของใบ แม้ต้นไม้จะเป็นตัวช่วยจับอนุภาคไว้ชั่วคราวก็จริง แต่ข้อดีของมันก็คือการลดปริมาณของอนุภาคมลพิษขนาดเล็กมากที่จะต้องล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอดของมนุษย์โดยตรง ยิ่งมีต้นไม้มากเท่าใดอนุภาคมลพิษที่ล่งลอยในอากาศก็จะลดและเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยลงเท่านั้น



ต้นไม้ใหญ๋ใบกว้างที่มีพุ่มใบแน่นทำหน้าที่ดักจับอนุภาคมลพิษได้มากที่สุด

การศึกษาที่นครชิคาโกในปี พ.ศ. 2534 พิสูจน์ให้เห็นว่าต้นไม้ใหญ่สามารถดักจับอนุภาคมลพิษขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตรได้ถึงปีละ 234 ตัน

ต้นไม้ใหญ่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สามารถขจัดอนุภาคมลพิษได้มากเป็น 70 เท่า (1.4 กก./ปี) ของต้นไม้ชนิดเดียวกันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 เซนติเมตร (0.02 กก./ปี)

การระเหยของสารประกอบอินทรีย์จากหินชีวภาพ (Biogenic)

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งในการประเมินผลกระทบของการป่าไม้ในเมืองที่มีต่อคุณภาพของอากาศได้แก่การปล่อยสารระเหยที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (biogenic volatile organic compounds -BVOCs) นั่นคือสารเคมีบางชนิดที่ส่วนใหญ่คือ ไอโซพรีน (isoprene) และโมโนเทอร์พีนส์ (monoterpenes) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันหอมระเหยและยางไม้ รวมทั้งสารอินทรีย์อื่นที่ต้นไม้ใช้ล่อแมลงให้มาผสมเกษรหรือใช้สำหรับไล่แมลงหรือสัตว์บางชนิด จากการศึกษาพบว่าสารอินทรีย์ต่างๆ ที่ต้นไม้สังเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะดังกล่าวสามารถรวมตัวกับไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) กลายเป็นโอโซนที่เป็นตัวการทำให้เกิดหมอกควันได้ อย่างไรก็ดี การเกิดโอโซนโดยวิธีนี้นับว่าน้อยมาก โดยมากที่สุดจะไม่เกิน 10%



มีต้นไม้เพียงไม่กี่ชนิดที่มีผลต่อการเกิดโอโซนดังกล่าว ในสหรัฐฯ มีต้นไม้ที่สร้างสารไอโซพรีนมากได้แก่ต้นสน (Casuarina) ยูคาลิปตัส สวีทกัม (Liquidambar) แบล็กกัม (Nyssa) เพลนทรี (Platanus) ป็อบปลา โอ๊กหรือก่อ แบล็กโลคัส หรือพวกสีเสียด (Robinia) หลิว สำหรับประเทศไทยยังไม่พบว่ามีการศึกษาวิจัยในด้านนี้ที่สามารถอ้างอิงได้



ต้นไม้ที่สามารถปรับตัวและตอบสนองขึ้นได้ดีในสภาพแวดล้อมนั้นๆ อยู่แล้วแต่มีการปล่อยสารระเหยอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโอโซนได้ดังกล่าวก็ไม่ควรด่วนโค่นหรือขุดย้ายไปที่อื่น การเอาต้นไม้ที่ปล่อยสารระเหยน้อยกว่ามาปลูกแทนอาจขึ้นไม่ได้ดีเท่าต้นเดิม การชั่งน้ำหนักจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการปล่อยสารระเหยอินทรีย์ไม่ได้มากและเป็นอันตรายเกินอัตราเมื่อเทียบกับสารที่ระเหยจากรถยนต์และจากยางมะตอยที่ตากแดด



ไม่ควรติดป้ายว่าต้นไม้เป็นตัวสร้างมลพิษทั้งนี้เนื่องจากคุณประโยชน์โดยรวมที่มันให้แก่สิ่งแวดล้อมมีมากกว่าข้อเสียในการมีส่วนสร้างโอโซนอันเล็กน้อยนั้น ปกติการเกิดโอโซนจากสารระเหย BVOCs นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ร้อน ดังนั้น การปลูกต้นไม่ใหญ่ให้ร่มมากๆ จึงเป็นการลดอุณหภูมิ โอโซนจึงเกิดน้อยไปด้วย



ผลกระทบของการป่าไม้ในเมืองที่มีต่อการเกิดโอโซนเพิ่งถูกค้นพบและเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์เมื่อเร้วๆ นี้เอง การวิจัยยังคงต้องดำเนินการต่ออีกมากเพื่อหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย ได้มีการศึกษาที่ได้ข้อสรุปเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลกระทบของการปลดปล่อยสารระเหย BVOC ที่มีผลต่อการเกิดโอโซนแล้วอย่างชัดเจน แต่ผลกระทบที่จะเกิดโดยตรงต่อการป่าไม้ในเมืองยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปริมาณสารระเหยอินทรีย์จากต้นไม้มีปริมาณที่แน่ขัดเท่าใดที่จะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์แล้วเกิดโอโซนที่จะทำให้เกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมในชุมชนได้ ดังนั้นจึงควรรีบดำเนินการวิจัยต่อให้ทราบผลชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจโค่นต้นไม้ที่ปล่อยสารระเหยอินทรีย์ดังกล่าว



การป่าไม้ในเมืองในสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกา นโยบายของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับการป่าไม้ในเมืองดูแลโดยกรมป่าไม้ เกระทรวงกษตราธิการ (USDA Forest Service) งานส่วนใหญ่ภาคสนามดำเนินการโดยกองทุนไม่แสวงกำไรที่ได้รับเงินจากการบริจาคของประชาชนทั่วไปร่วมกับการสมทบจากงบประมาณของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น



นโยบายว่าด้วยการป่าไม้ในเมืองของสหรัฐนับว่ามีอุปสรรคน้อยได้รับการยอมรับจากทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านมากพอสมควร ผิดกับนโยบายทรัพยากรการป่าไม้อื่นที่มีผลประโยชน์ที่แย่งชิงป่าไม้ของชาติที่ทาบซ้อนในพื้นที่ของรัฐต่างๆ



การป่าไม้ในเมืองของประเทศไทย

การรณรงค์ปลูกต้นไม้ในเมืองมีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถ์เลขาพระราชทานเจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ทรงให้คำแนะนำและมีพระกระแสรับสั่งกำหนดชนิดต้นไม้และตำแหน่งปลูกรวมทั้งวิธีการปลูกโดยละเอียด ทรงรู้จักต้นไม้มากกว่า 90 ชนิด แต่การรณรงค์ของพระองค์มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่มรื่นสวยงาม ด้วยในยุคนั้นอากาศในกรุงเทพฯยังไม่มีมลพิษเท่าปัจจุบัน



หน้าที่การปลูกต้นไม้เป็นหน้าที่ของกรมนคราทรซึ่งต่อมาตกเป็นหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร ส่วนเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรตกเป็นหน้าที่ของเทศบาล ซึ่งการปลูกต้นไม้ในเมืองทั้งหมดเป็นการปลูกเพื่อความสวยงามและความร่มรื่นเป็นสำคัญ



ผลของการพัฒนาเมืองที่แออัดและการติดขัดของการจราจรทำให้เกิดปัญหามลพิษรุนแรงขึ้น การปลูกต้นไม้ใหญ่จึงเริ่มมามองในด้านการช่วยบรรเทามลพิษทางอาอาศและการจับฝุ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมทั้งกรมป่าไม้ได้เริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับความสามารถของต้นไม้ในเชิงการดูดซับก๊าซพิษและโลหะหนักมากขึ้น



ปัจจุบัน กรมป่าไม้กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและจัดตั้งหน่วยงานการป่าไม้เมืองขึ้นโดยขยายงานจากสำนักงานจัดการป่าชุมชนที่เน้นด้านเศรษฐกิจและสังคม มาเน้นแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง



 อ้างอิง

พระราชหัตถ์เลขาสมเด็จพระปิยมหาราช พระราชทานเจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ (พ.ศ. 2438-2453) พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพนางหอมหวน สุริยคำ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม 29 มิถุนายน พ.ศ. 2528

เดชา บุญค้ำ ต้นไม้ใหญ่ในการก่อสร้างและพัฒนาเมือง สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2543

Nowak, D. (2000). Tree Species Selection, Design, and Management to Improve Air Quality Construction Technology. Annual meeting proceedings of the American Society of Landscape Architects (available online, pdf file).

Nowak, D. The Effects of Urban Trees on Air Quality USDA Forest Service (available online, pdf file).

Nowak, D. (1995). Trees Pollute? A "Tree Explains It All". Proceedings of the 7th National Urban Forest Conference (available online, pdf file).

Nowak, D. (1993). Plant Chemical Emissions. Miniature Roseworld 10 (1) (available online, pdf file).

Nowak, D. & Wheeler, J. Program Assistant, ICLEI. February 2006.

McPherson, E. G. & Simpson, J. R. (2000). Reducing Air Pollution Through Urban Forestry. Proceedings of the 48th meeting of California Pest Council (available online, pdf file).

McPherson, E. G., Simpson, J. R. & Scott, K. (2002). Actualizing Microclimate and Air Quality Benefits with Parking Lot Shade Ordinances. Wetter und Leben 4: 98 (available online, pdf file).

Hanson, Michael L.(1990). Urban & Community Forestry, a Guide for the Interior Western United States, USDA Forest Service, Intermountain Region, Ogden, Utah.



รุกขกรรม

en:Arboriculture

en:Forestry

en:Silviculture

en:Planting strategy

การป่าไม้

ภูมิสถาปัตยกรรม

พืชสวน

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ


 แหล่งข้อมูลอื่น

องค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ในเมือง

กรมป่าไม้ไทย

Society of American Foresters

Alliance for Community Trees

International Society of Arboriculture

American Forests

TreeLink

Trees Are Good

TREE Fund

Casey Trees Endowment Fund

Tree City USA Program

สายสาขาเรียน

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในสี่คณะเริ่มแรกตั้งของมหาวิทยาลัย โดยมีวิวัฒนาการมาจาก "โรงเรียนป่าไม้" เปิดสอนในสาขาวิชาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ป่าไม้ รวมถึง การจัดการลุ่มน้ำ โดยทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก
คณะวนศาสตร์ วิวัฒนาการมาจาก "โรงเรียนป่าไม้" ของ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตราธิการ เปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดแพร่ โดยในระยะแรกได้ใช้หลักสูตรการศึกษา2 ปี ผู้ที่เรียนจบตามหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรการป่าไม้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้โอนมาอยู่ในสังกัด "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนป่าไม้" เป็น "โรงเรียนวนศาสตร์" โดยจะรับนิสิตเฉพาะผู้ที่สำเร็จจาก "โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้"เท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรจาก 2 ปี เป็น 3 ปี โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับอนุปริญญาวนศาสตร์ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วิทยาลัยวนศาสตร์" โดยรับนิสิตผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยทั่วไปเข้าศึกษาด้วย







ในปี พ.ศ. 2486 ได้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ขึ้น วิทยาลัยวนศาสตร์จึงได้เปลี่ยนเป็น "คณะวนศาสตร์"และได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แต่คณะวนศาสตร์ยังคงเปิดการเรียนการสอนอยู่ที่จังหวัดแพร่ และได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2499 พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรโดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวนศาสตรบัญฑิต และเริ่มเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2510


หน่วยงาน



ภาควิชาการจัดการป่าไม้


ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้


ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์


ภาควิชาวนวัฒนวิทยา


ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ [1]


ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา


ศูนย์วิจัยป่าไม้


ระดับปริญญาตรี



หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์)






สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้


สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้


สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน


สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้


สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม



สาขาอุทยาน นันทนาการและการท่องเที่ยว


หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ)






สาขาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ


หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้)






สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้


หลักสูตรสองปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์)คู่ขนานกับ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา และมนุษยวิทยา)






[แก้] ระดับปริญญาโท


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วนศาสตร์)






สาขาวิชาการจัดการป่าไม้


สาขาวิชาชีววิทยาป่าไม้


สาขาวิชาวนผลิตภัณฑ์


สาขาวิชาวนวัฒนวิทยา


สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำ


สาขาวิชาอุทยานและนันทนาการ


สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้ (ภาคพิเศษ)


สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้


สาขาวิชาวนศาสตร์เขตร้อน (นานาชาติ)


สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน










[แก้] ระดับปริญญาเอก


หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วนศาสตร์)






สาขาวิชาการจัดการป่าไม้


สาขาวิชาวนวัฒนวิทยา


สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำ


สาขาวิชานิเวศวิทยาป่าไม้

คลิปการสำรวจป่าไม้


สำรวจป่า - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่